(ภาพบน ) ดอกต้นสำโรงถ่ายเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552
ฝักสำโรง ชื่อวิทยาศาสตร์ Sterculia Foetida L.
ชื่อวงค์ Sterculiaceae
ชื่อสามัญ Bastard poom , Pinari
ชื่อพื้นเมือง จำมะโฮง , มะโรง , มะโหรง , โหมรง ,โหมโลง
ที่โรงเรียนขามสะแกแสง สพท.นครราชสีมา เขต 5 มีต้นไม้ต้นหนึ่ง มีรูปร่างสูงตรง ผู้เขียนชอบไปยืนดู แหงนมองความสูงของเขาด้วยความยำเกรง ครั้นสิ้นหน้าฝนมักได้กลิ่นเหม็นๆเหมือนอุจจาระลอยมาบนตึก
ช่วงต้นหน้าหนาว จะเห็นฝักสีแดงเต็มต้นไปหมด ใบไม่ค่อยมีแล้ว เมื่อเข้าปลายเดือนมกราคม ฝักเริ่มแก่ เปลือกแข็งมาก ไม่ค่อยมีคนรู้จักนักว่าเป็นต้นอะไร และใช้ประโยชน์อย่างไร แต่ผู้เขียนได้ถามจากนายเชื้อ เชาว์วันกลาง อดีตนักการที่เกษียณอายุราชการไปแล้วทราบว่าเรียกว่า "ต้นสำโรง" จากนั้นผู้เขียนก็ไปค้นคว้าหามาเล่าสู่ฟังนี่แหล่ะค่ะ
ชื่อวงค์ Sterculiaceae
ชื่อสามัญ Bastard poom , Pinari
ชื่อพื้นเมือง จำมะโฮง , มะโรง , มะโหรง , โหมรง ,โหมโลง
ที่โรงเรียนขามสะแกแสง สพท.นครราชสีมา เขต 5 มีต้นไม้ต้นหนึ่ง มีรูปร่างสูงตรง ผู้เขียนชอบไปยืนดู แหงนมองความสูงของเขาด้วยความยำเกรง ครั้นสิ้นหน้าฝนมักได้กลิ่นเหม็นๆเหมือนอุจจาระลอยมาบนตึก
ช่วงต้นหน้าหนาว จะเห็นฝักสีแดงเต็มต้นไปหมด ใบไม่ค่อยมีแล้ว เมื่อเข้าปลายเดือนมกราคม ฝักเริ่มแก่ เปลือกแข็งมาก ไม่ค่อยมีคนรู้จักนักว่าเป็นต้นอะไร และใช้ประโยชน์อย่างไร แต่ผู้เขียนได้ถามจากนายเชื้อ เชาว์วันกลาง อดีตนักการที่เกษียณอายุราชการไปแล้วทราบว่าเรียกว่า "ต้นสำโรง" จากนั้นผู้เขียนก็ไปค้นคว้าหามาเล่าสู่ฟังนี่แหล่ะค่ะ
ลักษณะฝักของเขาต้นสำโรงหน้าโรงจอดรถโรงเรียน
ที่มาของข้อมูล : http://www.launsin200.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=217658
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ ถึงทรงกระบอก
ลำต้นเปลาตรง โคนมีพูพอนต่ำๆ
เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทาใบ
ใบประกอบรูปนิ้วมือ กางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง
ใบย่อย 5-7 ใบ รูปรี หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5 – 6 ซม. ยาว 10 ซม.- 30ซม.
ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม
โคนใบรูปลิ่ม
แผ่นใบหนา ใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ 17-21 เส้น
ก้านใบประกอบยาว 13-20 ซม. ก้านใบย่อยยาว 3-5 ซม.
ดอก สีแดงหรือสีแสด มีกลิ่นเหม็นมาก ออกรวมเป็นช่อ แบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง หรือซอกใบ
ปลายกิ่งช่อดอกยาว 10-30ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ปลายม้วนออก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 2-2.5 ซม.
ผล ผลแห้งแตกรูปไต เปลือกแข็งเหมือนไม้ สีแดงปนน้ำตาล ผิวมันและเกลี้ยงเมื่อ แก่แตกเป็นสองซีกกว้าง6-9 ซม. ยาว 8-10 ซม.
เมล็ด สีดำมันรูปขอบขนาน กว้าง .3 ซม. ยาว 2.5 ซม.
ระยะการเป็นดอกผล ดอก พย.-ธค. ,
ผล มค.-เมย.
นิเวศวิทยา ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตรการใช้งาน
ด้านภูมิทัศน์ ดอกเด่นและผลเด่น แต่ดอกมีกลิ่นเหม็นมาก ควรปลูกให้ไกลที่พักอาศัย และทางเดินในสวน และควรอยู่เหนือลม
ประโยชน์
ฝัก สมานแผลในกระเพาะ
เปลือก ละลายเสมหะ
ไม้ ใช้ทำน้ำมันจากเนื้อใน
เมล็ด ใช้ปรุงอาหารและจุดไฟ
น้ำมันจากเนื้อในเมล็ดใช้ปรุงอาหารและจุดไฟ
ข้อมูลจากหนังสือ ไม้ป่ายืนต้นของไทย โดย เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน
ยอดเยี่ยมมากครับ ผมกะว่าจะปลูกไว้โรงเรียน แต่ปัญหาก็คือกลิ่นของเขานี่สิ
ตอบลบ