วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สัปดาห์มาฆบูชา

เมื่อวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมานี้ พระวิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฎโฐ วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่ ได้รับนิมนต์มางานเข้าปริวาสกรรม ที่วัดป่าบ้านไพ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ศิษย์ทั้งหลายที่ทราบข่าวจึงมากราบนมัสการหลวงพ่อ และปลื้มปิติ ที่ได้ฟังธรรมที่ท่านสอน


หลังจากวันนั้นแล้วก็มีวันหยุดอีกวันคือวันมาฆบูชา (จันทร์ที่ 9 ก.พ.) ผู้เขียนได้ไปทำบุญถวายสังฆทานที่วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภูที่ครอบครัวของผู้เขียนจะไปทำบุญเป็นประจำ เริ่มออกเดินทางจากอำเภอขามสะแกแสงเวลา ห้าโมงเช้าวันอาทิตย์ที่ 8 ก.พ. 52 เราพักทานอาหารกลางวันที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งแถวขอนแก่น บรรยากาศเย็นสบาย ร่มรื่นดี จึงถ่ายภาพมาฝากกัน

ผ่านจังหวัดหนองบัวลำภู ไปถึงที่ตลาดชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงเวลาประมาณบ่ายสามโมง มีอาหารพื้นบ้านนานาชนิด อาทิเช่น


ลูกท้อ

เมี่ยงมดแดง,ไข่มดแดง
เขียดทรายตัวประมาณ 1 ซ.ม.
จากนั้นก็เดินทางต่อไป ผ่านสุสานหอย 150 ล้านปี และก็มาถึงปากทางเข้าวัดถ้ำกลองเพล
อ่านการเดินทางครั้งก่อนที่นี่ค่ะ http://blog-of-opun.blogspot.com/
หลังจากถวายสังฆทานแล้ว ก็ไปกราบพระบัณฑรนิมิต ที่ท่านอาจารย์หมออวย เกตุสิงห์
สร้างถวายหลวงปู่ขาว อนาลโย

และนมัสการพระธาตุ ณ พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่ขาว อนาลโย
แล้วจึงเดินทางกลับออกมา เพื่อถ่ายภาพฝูงไก่ป่า

ขณะนั้นเอง ก็ได้พบ(หลวงตาแชร์) พระชฎิล อมรปญโญ โดยบังเอิญ เนื่องจากท่านได้มาปฏิบัติธรรม ที่จังหวัดอุดรหลายวันแล้ว

เมื่อได้กราบลาหลวงตาแชร์ แล้วเราก็เดินทางต่อไป ถึงจุดหมายปลายทางคือจังหวัดหนองคาย เมื่อเวลาประมาณหกโมงเย็น ตลาดท่าเสด็จยังไม่ปิด จึงเดินช็อปปิ้งได้หลายเที่ยว เมื่อร้านค้าเริ่มปิดก็ถึงเวลานั่งทานอาหารเย็นริมแม่น้ำโขงยามค่ำคืน และดื่มด่ำกับความสวยงามของธรรมชาติ จนพอใจจึงเข้าพักที่โรงแรม เพื่อพักผ่อนเอาแรงไว้เดินต่อในวันพรุ่งนี้ (วันจันทร์-วันมาฆบูชา)







รุ่งเช้าหลังจากรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมแล้ว เราก็ขับรถไปที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว นำรถเข้าไปฝากไว้ที่จุดรับฝากรถ ทางตึกด้านทิศตะวันออก (ดังภาพล่าง) กะว่าจะเข้าไปแค่ด่าน ต.ม. ของ ส.ป.ป.ลาว เพื่อเดินเล่น และซื้อสินค้านิดหน่อยซักชั่วโมงก็จะกลับ ค่าจอดรถแค่ 40 บาท เท่านั้นเอง

จอดรถแล้วเราก็เดินไปที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของไทย






เขียนเอกสารขาออก - และขาเข้าให้เรียบร้อย
ได้ความรู้อย่างหนึ่งคือ หากพาสปอร์ดมีอายุเหลือต่ำกว่า 6 เดือน ไม่สามารถเข้าประเทศลาวได้
(เป็นสากล) ฉะนั้นก็จงหมั่นเปิดดูวันหมดอายุบ่อยๆนะคะ เผื่อปีหน้าจะไปเชียร์กีฬาที่ฝั่งโน้นจะได้ไม่เจ็บใจ

เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็เตรียมธนบัตรใบละ 20 บาทไว้ซื้อปี้ด้วยค่ะ
คำว่า "ปี้" แปลว่า"ตั๋ว" แล้วก็รอรถเมล์เพื่อนำท่านข้ามสะพานไปด่านตรวจคนเข้าเมืองของ ส.ป.ป.ลาว



(ภาพล่าง) เมื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองแล้ว เราก็ข้ามไปฝั่งตรงข้ามโดยเริ่มตั้งแต่ตลาดดาวเรือง เดินชมไปเรื่อยๆมีทั้งกระเป๋า เสื้อผ้า เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลท เมื่อได้ซื้อสินค้าครบตามจุดประสงค์แล้ว ผู้เขียนก็ลองซื้อ "ปาเต้" มาลองชิมบ้าง และสังเกตการทำของคนขาย ราคา 50 บาท หากต้องการใส่ทูน่ากระป๋องก็ชุดละ 70 บาท เครื่องปรุงก็มี ข้าวจี่(เหมือนขนมปังฝรั่งเศส) ทาเนย ใส่เครื่องเช่น หมูหยอง ยอ หมูแดง แตงกวา แครอท ผักชี แล้วราดซอสมะเขือเทศ









แล้วก็ได้เวลากลับบ้านเรา ก็ต้องซื้อ"ปี้" ก่อนอีกคนละ 20 บาท



คนซื้อ "ปี้" คอยไม่นานนักก็ได้ขึ้นรถ

ขากลับเมื่อรถผ่านมาถึงตรงกลางสะพาน ก็เริ่มเห็นธงชาติไทย

ผ่านพิธีตรวจคนเข้าเมืองแล้ว จากนั้นก็ไปรับรถที่ฝากไว้
เราขับไปตามเส้นทางเพื่อไปกราบนมัสการหลวงพ่อพระใส


เมื่อเข้าไปในวัดแล้วก็จอดรถไว้ใต้ต้น "ท้อ" ดังภาพที่ถ่ายจากตลาดหน้าวัดถ้ำกลองเพล
แล้วก็เดินออกมาทางหน้าวัดเพื่อบันทึกภาพ สังเกตเห็นต้น "สาละ" สองต้นที่ประตูทางเข้า กำลังมีลูกด้วย เพิ่งเคยเห็น "ลูกสาละ" ก็คราวนี้เอง




จากนั้นก็เข้าไปกราบหลวงพ่อพระใส (พระคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดหนองคาย)




ภายในโบสถ์ผู้เขียนเองรู้สึกได้ถึง "ความสว่าง สะอาด และความสงบร่มเย็น" เมื่อได้นั่งสงบนิ่งอยู่หน้าองค์ท่านค่ะ











ตู้เก็บวัตถุมงคล "หงอนพญานาค" และ "ชิ้นส่วนเจ้าคำหล้า (เงือก)"







จิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวประวัติ หลวงพ่อพระใส














































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น